สั่งพิมพ์

11มิย52สมิงโชว์@เทคนิคสมุทรปราการ[รูป+คลิป]

11มิย52สมิงโชว์@เทคนิคสมุทรปราการ[รูป+คลิป]





กองทัพบกจับมือ สอศ.เปิดโครงการ “ทำดีมีอาชีพ” รับเยาวชน 31 จ.ชายแดน สร้างโอกาส อนาคต อาชีพ “การที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแก่ราษฎรนั้น เป็นการช่วยเหลือชั่วคราวไม่ยั่งยืน การที่จะช่วยประชาชนให้อยู่รอดได้ก็คือ การให้อาชีพ” พระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เป็นที่น่ายินดีอีกครั้งกับเด็กไทยที่กองทัพบกได้ร่วมมือร่วมใจ กับ สำนักงานคณะกรรมการอาชีวศึกษา( สอศ.)และองค์กรภาคีทั้งภาครัฐและเอกชนร่วมกันจัดทำ โครงการ “ทำดี มีอาชีพ” เพื่อสร้างโอกาสทางการศึกษาและส่งเสริมอาชีพแก่เยาวชนนอกระบบการศึกษาใน 31 จังหวัดชายแดนทั่วประเทศ รวมถึงช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดปัญหาอาชญากรรมและแก้ไขปัญหาความไม่สงบที่เกิดขึ้นในสังคมไทยนี้ด้วย เกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว พลเอกอนุพงษ์ เผ่าจินดา ผู้บัญชาการทหารบก / รองผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร(กอ.รมน.) กล่าวว่า กองทัพบกและ กอ.รมน. มีบทบาทหน้าที่ดูแลความมั่นคง และส่งเสริมการพัฒนาด้านต่างๆ ของประเทศ โครงการ "ทำดี มีอาชีพ" จึงมุ่งเน้นให้เยาวชนมีทักษะในการประกอบอาชีพ เพื่อเพิ่มพูนความรู้ที่จะสามารถนำไปสร้างงาน สร้างรายได้ให้กับตนเองและครอบครัว สามารถพึ่งพาตนเองได้ ทั้งยังเปิดโอกาสให้เยาวชนได้เรียนรู้ความหลากหลายของวิถีชีวิตและวัฒนธรรมระหว่างชุมชนที่แตกต่างกัน อันเป็นกลไกหนึ่งที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต ลดปัญหาทางสังคมและสร้างความมั่นคงให้กับประเทศได้อย่างยั่งยืน “จังหวัดที่อยู่ตามแนวชายแดนมักเกิดปัญหาต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ภัยคุกคามจากยาเสพติด การก่อการร้าย การค้าประเวณี และการหลบหนีเข้าเมืองอย่างผิดกฎหมาย เนื่องจากมีเยาวชนและผู้ด้อยโอกาสจำนวนมากที่ไม่ได้รับการศึกษาและไม่มีอาชีพ เราจึงตั้งเป้าหมายไปที่เยาวชนกลุ่มดังกล่าว ซึ่งเป็นตัวที่ทำให้เกิดความมั่นคงอย่างยั่งยืนได้ ให้เยาวชนได้มีโอกาสในการสร้างศักยภาพให้กับตนเอง ได้แก่ การสร้างความรู้และนำไปสู่การมีอาชีพ เพื่อสร้างความเข้มแข็งให้กับตัวเอง นำไปสู่ครอบครัวเข้มแข็ง ชุมชนเข้มแข็ง เพื่อลดช่องว่างทางสังคม ตลอดจนลดปัญหาขาดแคลนแรงงานและการว่างงาน” พลเอกอนุพงษ์ กล่าวด้วยสีหน้าเบิกบาน ด้านนายประเสริฐ แก้วเพ็ชร รองเลขาธิการคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เล่าถึงโครงการนี้ว่า เป็นโครงการที่จะนำเยาวชนนอกระบบการศึกษาจาก 31 จังหวัดชายแดนเข้ารับการอบรมทักษะวิชาชีพ ตามหลักสูตรระยะสั้นของ สอศ. ใช้เวลาฝึกอบรม 2 เดือน เดือนแรกจะฝึกอบรมในสถาบัน เดือนที่สองฝึกปฏิบัติงานในสถานประกอบการตามสายงานวิชาชีพที่ได้รับการฝึกอบรมและเรียนมา โดยการเรียนการสอนจะเน้นหลักสูตรการปฏิบัติ แบ่งเป็นหลักสูตรในสายวิชาช่างอุตสาหกรรมและด้านบริการ เช่น ช่างเชื่อม ช่างไฟฟ้า ช่างพิมพ์ อาหารและโภชนาการ เกษตรกรรม คหกรรม ฯลฯ “สอศ.มีสถาบันในสังกัด กว่า 404 แห่ง ครอบคลุมทุกสาขาอาชีพ เพื่อรองรับความต้องการในการเข้ารับฝึกอบรมของเยาวชนทั่วประเทศ สำหรับนักศึกษาที่ต้องการเข้ามาฝึกอบรม สอศ.ได้มีการจัดเตรียมสวัสดิการที่พักพร้อมด้วยอาหารโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายตลอดการฝึกอบรมจนจบหลักสูตรอีกด้วย” นายประเสริฐ กล่าว ส่วนนายสุรัตน์ จั่นแย้ม ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือ สอศ. ได้พูดถึงโครงการนี้ว่า ในเดือนธันวาคมได้มีกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์โดยให้เด็กในภาคใต้ จำนวน 200 คนได้เข้ากลุ่มทำกิจกรรมต่างๆร่วมกันและได้มีการจัดเตรียมแผนการเรียนที่เป็นพิเศษแก่เด็กกลุ่มนี้โดยจัดเตรียมนักศึกษาจากสถานศึกษาต่างๆของกรมอาชีวะมาเป็นพี้เลี้ยงในการดูแลให้คำปรึกษาและไม่ให้เด็กออกนอกลู่นอกทาง นอกจากนี้ได้มีการจัดเตรียมครูในสาขาอาชีพต่างๆไว้ตามความสนใจของเด็กที่ต้องการและสิ่งสำคัญในการจัดเตรียมการเรียนการสอน โดยจะสอดแทรกเรื่องคุณธรรม จริยธรรม เข้าไปในการเรียนการสอน ด้านนายสมชาย ชุ่มรัตน์ ปลัดกระทรวงแรงงาน กล่าวว่า โครงการทำดี มีอาชีพ เป็นหนึ่งภารกิจที่สำคัญ ที่กระทรวงแรงงานต้องเข้ามามีส่วนร่วม เพื่อสร้างอาชีพ เร่งการจ้างงาน บรรเทาการว่างงานที่อาจวิกฤตในปีหน้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งเยาวชนที่อยู่ในชายแดนภาคใต้ทั้ง 31 จังหวัด เป็นประชาชนที่อยู่ห่างไกลความเจริญ ดังนั้นเมื่อเยาวชนมีอาชีพ มีรายได้ มีงานทำ ก็จะเป็นการเสริมสร้างความมั่นคงให้กับประเทศซึ่งอยู่ตามชายแดนได้เป็นอย่างดี แต่ในกรณีที่ตำแหน่งงานว่างไม่ตรงกับความรู้ความสามารถของเยาวชน กรมพัฒนาฝีมือแรงงานก็จะจัดฝึกอบรมให้มีความรู้ความสามารถที่ตรงกับตำแหน่งงาน และมีใบประกาศนียบัตรให้เมื่อศึกษาจบหลักสูตร “โครงการนี้นอกจากจะเปิดโอกาสให้เยาวชนนอกระบบการศึกษาได้มีความมั่นคงทางอาชีพแล้วยังจะเป็นการลดปัญหาแรงงานต่างด้าวตามจังหวัดชายแดนอีกด้วย สำหรับด้านการรองรับการเข้าทำงาน เมื่อเยาวชนจบการฝึกอบรม ทางกระทรวงแรงงานและภาคีเครือข่ายจะร่วมกันจัดหาแหล่งงานให้เหมาะสมตามศักยภาพของเยาวชนนายสมชาย กล่าว ทางด้านนายจาตุรงค์ ศรีจำนง นักศึกษา ปวช. ชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยบริหารธุรกิจและการท่องเที่ยวกรุงเทพ สาขาการโรงแรม เล่าถึงโครงการว่า โครงการทำดีมีอาชีพเป็นประโยชน์แก่นักศึกษา เพราะจะได้ฝึกฝีมือเพื่อไปประกอบอาชีพทำให้มีรายได้ และสามารถหาเงินจากการฝึกอาชีพไปเลี้ยงครอบครัวเพื่อลดความเสี่ยงต่อการถูกชักจูงไปในทางที่ไม่ดีได้อีกด้วย นายอภิชัย ไพรสณฑ์ นักศึกษาชั้นปีที่ 3 วิทยาลัยสารพัดช่างพระนคร สาขาช่างไฟฟ้า กล่าวว่า ได้มีความรู้เบื้องต้นในด้านอิเล็กทรอนิกส์และด้านไฟฟ้าจนสามารถนำไปประกอบอาชีพได้โดยไม่ต้องเป็นห่วงในเรื่องของการหางาน เพราะมีสถานที่รองรับในการทำงานและสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเอง และเป็นโครงการระยะสั้นเพียง 225 ชั่วโมง โดยใช้เวลาเรียน 1เดือน หรือ 150 ชั่วโมงเท่านั้นโดยไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดๆทั้งสิ้น และเมื่อสำเร็จการศึกษาจะได้รับใบประกาศนียบัตรรับรองการอบรมในวิชาชีพที่ได้เรียนในครั้งนี้ด้วย สิ่งดีดี สิ่งที่สร้างสรรค์ยังเปิดโอกาสให้กับคนไทยอีกมาก การยืนได้ด้วยตนเองโดยการสร้างอาชีพ ดีกว่าที่จะแจกสิ่งของหรือเงินแน่นอน เพราะนั่นเป็นการช่วยเหลือชั่วคราวไม่ยั่งยืน... เรื่องโดย : นางสาว มณีรัตณ แช่มมณีTeam content www.thaihealth.or.th งานนี้ มี วงไปร้องกันหลายวงครับ TABASCO , Zero Hero ส่วน สมิงมี CP , Freemic , P.Crazed , Dannyway ครับ
คะแนนเมื่อเร็วๆนี้
  • Sming จิตพิสัย +30 14-7-2012 18:59

TOP

"สงสัย S(he)  คนนั้นจะโดนใจน้องกู๊ดที่สุด เต้นยั่วขนาดนั้น"

 


สนุกมากครับงานนี้!!!! สุดๆ

TOP